การย้ายเข้าบ้านใหม่ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ในชีวิตของใครหลายๆคน บางคนจึงนิยมเลือกวันและเวลา ตามฤกษ์หรือวันที่ถูกโฉลกกับเจ้าของบ้าน ส่วนใหญ่มักจะตั้งคำถามกันภายในครอบครัวว่า ย้ายบ้านวันไหนดี เราจะย้ายด้วยวิธีไหนกัน แต่ด้วยยุคที่ทันสมัยในตอนนี้จะมีบริษัทขนย้ายที่จะช่วยบรรเทาแรงของเราได้นั้นเอง | Cap Tain Move
ย้ายบ้านเลขที่ต้องใช้อะไรบ้าง
– การแจ้งย้ายเข้า
หลักเกณฑ์
เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งย้ายเข้าภายในสิบห้าวันตั้งแต่วันที่ย้ายเข้า หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายเข้า 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เข้าอยู่ หากไม่ปฏิบัติตาม ตามที่กำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้
- การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกิน 6 เดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
- การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
- การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกิน 1 ปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (ข้อ 2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกิน 15 วัน ให้นับเป็น 1 เดือน
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าของบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าบ้านแล้ว
ขั้นตอนในการติดต่อ
- ยืนเอกสาร หลักฐานต่อนายทะเบียนของท้องที่จะย้ายเข้า
- นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน รายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่ เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง
– การแจ้งย้ายออก
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายออก 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้
- การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลากฎหมายไม่เกิน 6 เดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
- การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
- การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกิน 1 ปีคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (ข้อ 2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาท เศษของเดือน ถ้าเกิน 15 วัน ให้นับเป็น 1 เดือน
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าของบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของบ้าน
- หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าของบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง
ขั้นตอนการติดต่อ
- ยื่นเอกสาร หลักฐาน ต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้ง ย้ายออกให้ได้ ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้
- นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ จำหน่าย รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า “ย้าย” สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ และ ระบุย้ายไปที่ใด
- นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป
ไม่ว่างไป ย้ายบ้านเลขที่ออนไลน์ ได้ไหม
การย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ สามารถทำได้โดย ไม่จำเป็นต้องไปที่ อำเภอ สำนักงานเขต หรือ เทศบาล เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย เปิดให้ทำได้ผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD ที่ช่วยให้สะดวกมากขึ้น พร้อมวิธีการที่ง่าย โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ThaiD สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ระบบไอโอเอส (IOS) และ ระบบแอนดรอยด์ (ANDROID)
- เข้าแอปพลิเคชั่น ทำการลงทะเบียน สามารถทำได้ 2 วิธี
- วิธีลงทะเบียนด้วยตนเองผ่าน แอปพลิเคชั่น ThaiD
- วิธีลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่ใน แอปพลิเคชั่น ThaiD
วิธีการย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์
- กดเข้าแอปพลิเคชั่น ThaiD เลือกขั้นตอนการให้บริการระยะที่ 1 จากนั้นกดเข้าเว็ปไซต์ https://thportal.bora.dopa.go.th
- กดเลือกระบบการแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยตนเอง
- พิมพ์เลขบัตรประจำตัวประชาชนของเข้าของบ้านที่ต้องการจะย้ายเข้า
- ทางฝั่งเจ้าบ้านก็ต้องทำการลงทะเบียน ThaiD เพื่อกดยืนยันข้อมูลการแจ้งย้ายเข้าด้วยเช่นกัน
- จากนั้นจะมีข้อความ (SMS) ให้ทำการยืนยันตัวตนและให้ความยินยอมยืนยันส่งไปที่เจ้าบ้าน
- เจ้าบ้านกดยืนยันและยินยอม จากนั้นข้อมูลก็จะส่งไปยังนายทะเบียนของสำนักงานเขตหรืออำเภอที่อยู่ปลายทางที่ทำการแจ้งย้ายไว้
- จากนั้นนายทะเบียนจะดำเนินการอนุมัติการแจ้งย้ายและแจ้งผลการอนุมัติให้กับผู้ขอย้ายและเจ้าของบ้าน